เกณฑ์ประกันคุณภาพภายนอก สมศ.
ระยะโควิด-19และปี 2567-2571
-----
โดย รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
ผู้เกี่ยวข้องทุกท่านควรรับทราบตรงกันว่า ผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษาที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของศูนย์เครือข่าย สมศ. ในปีงบประมาณ 2567-2568(จำนวน 164 สถานศึกษา จำแนกเป็น 30 ศูนย์เครือข่าย) เป็นสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินภายนอกระหว่างปี 2565-2566 โดยใช้เกณฑ์การประเมินในสถานการณ์โควิด-19 ที่เน้นการประเมินในระบบออนไลน์ เก็บรวบรวมข้อมูลเป็น 2 ระยะ ระยะที่หนึ่ง เป็นการประเมินจาก SAR เท่านั้น แล้วตัดสินผลการประเมินเป็น ดี พอใช้ หรือ ควรปรับปรุง....หากสถานศึกษาร้องขอให้ประเมินระยะที่สอง ซึ่งเป็นการตรวจเยี่ยมที่สถานศึกษาหรือตรวจเยี่ยมในระบบออนไลน์ จะตัดสินผลการประเมินเพิ่มระดับคุณภาพเป็น 5 ระดับ โดยเพิ่ม ดีมาก และ ดีเยี่ยม ทั้งนี้ สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด เป็นสถานศึกษาที่ไม่มีการร้องขอรับประเมินระยะที่สอง
โดยสรุป ในกรณีของสถานศึกษาทั้ง 5 แห่ง ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของศูนย์เครือข่าย มหาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เป็นสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินตามเกณฑ์พิเศษ ในระยะโควิด-19 ผลการประเมินในระดับพอใช้ หรือควรปรับปรุง ผู้ประเมินพิจารณาจาก SAR เท่านั้น ซึ่งแสดงว่าสถานศึกษาเขียน SAR ไม่สะท้อนครบตามเกณฑ์การประเมิน(อาจจะตรงหรือไม่ตรงตามสภาพจริงในด้านคุณภาพที่แท้จริง)..
จากการประเมินและตัดสินผลดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น 1) ควรให้สถานศึกษาพิจารณาผลการตัดสินของ สมศ.+ SAR ปีล่าสุดของตนเอง+พิจารณาแล้วสะท้อนผลการประเมินด้วยตนเองว่าตนเองมีจุดเด่น/จุดอ่อน/จุดที่ควรปรับปรุง ในเรื่องอะไรบ้าง และควรดำเนินการอย่างไร ก่อนทำแผนปรับปรุง-พัฒนาร่วมกับต้นสังกัด และ 2) ให้คณะผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาว่า ได้เห็นจุดเด่น/จุดอ่อน/จุดที่ควรปรับปรุง อย่างไร ตรงกับที่สถานศึกษาพิจารณาตนเองหรือไม่ พร้อมเสนอแนะแนวทางการพัฒนา แล้วให้สถานศึกษาจัดทำแผนปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา(ซึ่งอาจเป็นไปได้ในสองทางเลือกที่สำคัญ คือ (1)ปรับปรุงแผนปฏิบัติการประจำปี ที่จัดทำไปแล้ว หรือ (2) จัดทำเป็นแผนปรับปรุงพัฒนาเฉพาะเรื่อง เป็นการเพิ่มเติม ก็ได้)
ในท้ายที่สุด หลังการพัฒนาระยะไม่เกิน 2 ปี(ปี 2567-2568) สถานศึกษากลุ่มนี้ มีโอกาสขอรับการประเมินซ้ำหรือประเมินใหม่จาก สมศ. ระหว่างปี 2567-2571 ซึ่ง สมศ.ใช้เกณฑ์การประเมินใหม่ จำแนกเป็น 3 ด้าน 8 องค์ประกอบ 18-19 ตัวบ่งชี้(ที่แตกต่างไปจากเกณฑ์การประเมินในระยะโควิด-19)....ดังนั้น การเตรียมโครงเรียนให้มีความพร้อม เพื่อรองรับการประกันคุณภาพจาก สมศ. จะต้องเน้นการเตรียมโรงเรียนให้พัฒนาครบทุกด้านและพัฒนาให้สอดคล้องสมบูรณ์เท่ากับ หรือมากกว่าองค์ประกอบในการประกันคุณภาพภายนอกของ สมศ.